แหล่งความรู้หมวด  คอมพิวเตอร์ >>โปรแกรมมิ่ง Web Design >>Adobe Flash
ลงประกาศฟรี โฆษณาฟรี ลงโฆษณาฟรี โปรโมทเว็บฟร PHP programming[79]
ลงประกาศฟรี โฆษณาฟรี ลงโฆษณาฟรี โปรโมทเว็บฟร Adobe Photoshop[26]
ลงประกาศฟรี โฆษณาฟรี ลงโฆษณาฟรี โปรโมทเว็บฟร Adobe Flash[19]
ลงประกาศฟรี โฆษณาฟรี ลงโฆษณาฟรี โปรโมทเว็บฟร Dreamweaver[13]
ลงประกาศฟรี โฆษณาฟรี ลงโฆษณาฟรี โปรโมทเว็บฟร Ajax Scripts,Java Script,โค๊ดแต่งเว็บไซต์[29]
ลงประกาศฟรี โฆษณาฟรี ลงโฆษณาฟรี โปรโมทเว็บฟร web design[9]

Flash MX ตอน สนุกกับ Timeline Effect

โดย  นิรนาม
Flash MX ตอน สนุกกับ Timeline Effect

ฉบับนี้มามาลองเปลี่ยนแนวการใช้งานคุณสมบัติเด่นตัวหนึ่งของ Flash MX 2004 ที่จะมาช่วยอำนวยความสะดวกในการสร้างภาพเคลื่อนไหวกันบ้าง คุณสมบัติเด่นที่ว่านั่นก็คือ Timeline Effects นั่นเอง

ฉบับนี้มามาลองเปลี่ยนแนวการใช้งานคุณสมบัติเด่นตัวหนึ่งของ Flash MX 2004 ที่จะมาช่วยอำนวยความสะดวกในการสร้างภาพเคลื่อนไหวกันบ้าง คุณสมบัติเด่นที่ว่านั่นก็คือ Timeline Effects นั่นเอง

Timeline Effects เป็นเสมือนกับเครื่องมือที่ช่วยสร้างเอฟเฟ็กต์ต่างๆ ให้กับวัตถุที่เราต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเอฟเฟ็กต์ที่เราคุ้นเคยอย่างดีเช่น Blur, Drop Shadow หรือเอฟเฟ็กต์ด้านแอนิเมชันที่จะช่วยให้วัตถุของเรามีชีวิตชีวา ขึ้น เช่น Transition, Explode หรือ Transform เป็นต้น

ข้อดีของการใช้งาน Timeline Effects ก็คือ ช่วยให้เราประหยัดเวลาที่จะต้องใช้ไปกับการสร้างเอฟเฟ็กต์เหล่า นี้ด้วยตัวเอง ถึงแม้ว่าบางเอฟเฟ็กต์เราจะสามารถทำได้เองก็ตาม เพราะ Timeline Effects นี้มีส่วนปรับแต่งเอฟเฟ็กต์มาให้ด้วย ทำให้การปรับแต่งเอฟเฟ็กต์นั้นง่ายดายขึ้นมาก

เตรียมวัตถุก่อนใส่เอฟเฟ็กต์

ก่อนที่เราจะไปทดลองใช้งาน Timeline Effects เราจะต้องเตรียมวัตถุที่จะนำไปใส่เอฟเฟ็กต์เสียก่อน โดยวัตถุนั้นไม่จำเป็นต้องนำไปเก็บเป็น Symbol ใน Library ก็ได้ แต่ถ้าเราไม่เก็บเป็น Symbol ก่อน จะทำให้ไม่สามารถใส่บางเอฟเฟ็กต์ลงในวัตถุนั้นได้
รูปที่ 1 รายละเอียดต่างๆ ภายในหน้าต่าง Blur


  • Blur Effect

    เอฟเฟ็กต์แรกที่เราจะมาลองเล่นกัน ก็คือเอฟเฟ็กต์ที่ทำให้วัตถุนั้นๆ ค่อยๆ เบลอจนหายไป ซึ่งสามารถกำหนดรูปแบบการเบลอ และทิศทางการเบลอ รวมไปถึงความยาวของเอฟเฟ็กต์นี้ได้ด้วย ขั้นตอนการใส่เอฟเฟ็กต์ก็เริ่มต้นด้วยการคลิ้กขวาที่วัตถุที่เร าต้องการใส่เอฟเฟ็กต์ลงไป แล้วเลือก Timeline Effects

    ภายในหน้าต่าง Blur จะประกอบด้วยส่วนปรับแต่งเอฟเฟ็กต์ และส่วนแสดงตัวอย่างผลลัพธ์ของเอฟเฟ็กต์ที่ได้จากการปรับแต่งนั ้น เราจะมาดูรายละเอียดในส่วนปรับแต่งเอฟเฟ็กต์กันว่าเราสามารถปรั บแต่งค่าอะไรได้บ้าง

    1. Effect Duration เป็นการปรับความยาวในการแสดงผลของเอฟเฟ็กต์ว่าจะต้องการให้เอฟ เฟ็กต์นี้มีความยาวทั้งหมดกี่เฟรม

    2. Resolution เป็นการปรับความละเอียดของเอฟเฟ็กต์นี้ ยิ่งค่า Resolution มากเท่าใด จำนวนวัตถุที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อนำมาใช้ในเอฟเฟ็กต์ Blur นี้ก็ยิ่งมากตามไปด้วย ทำให้มีความละเอียดมากยิ่งขึ้น แต่ก็ต้องแลกกับความเร็วในการแสดงผลที่ลดลงด้วยเช่นกัน

    3. Scale เป็นการกำหนดค่าการเปลี่ยนแปลงของขนาดของวัตถุในระหว่างเอฟเฟ็ก ต์ ถ้ากำหนดค่าเป็น 1 ขนาดของวัตถุจะไม่เปลี่ยนแปลงในระหว่างเอฟเฟ็กต์ และถ้ากำหนดค่านี้ให้มีค่าน้อยกว่า 1 จะทำให้วัตถุค่อยๆ ย่อขนาดลงตามที่กำหนด ส่วนการกำหนดค่านี้ให้มากกว่า 1 นั้น จะเกิดผลที่ตรงกันข้ามแทน นั่นก็คือ วัตถุจะค่อยๆ ขยายขนาดขึ้นตามที่กำหนด

    4. Allow Horizontal/Vertical Blur เป็นการกำหนดว่าจะให้มีการใส่เอฟเฟ็กต์ Blur ในทางแนวนอน (Horizontal) หรือในทางแนวตั้ง (Vertical) หรือไม่ ถ้าเราไม่ใส่เครื่องหมายถูกที่ตัวเลือกทั้งสองตัวเลือกนี้ ผลลัพท์ที่ได้ ก็จะเป็นเพียงการจางหาย (Fade-out) ของวัตถุนั้นๆ

    5. Direction of Movement เป็นการเลือกทิศทางของเอฟเฟ็กต์ Blur โดยปกติแล้ว จะถูกกำหนดไว้ที่จุดศูนย์กลาง แต่ถ้าเราต้องการให้ทิศทางของเอฟเฟ็กต์เปลี่ยนไป ก็สามารถเลือกทิศทางที่ต้องการได้จากตัวเลือกเหล่านี้
    รูปที่ 2 ตัวอย่างผลลัพธ์ที่ได้จากเอฟเฟ็กต์ Blur

    ภายหลังจากการปรับแต่งเอฟเฟ็กต์แล้ว หากต้องการพรีวิวเพื่อดูผลการปรับแต่ง ก็สามารถทำได้โดยคลิ้กที่ปุ่ม Update Preview ภาพตัวอย่างเอฟเฟ็กต์ก็จะปรากฏขึ้นภายในส่วนแสดงตัวอย่าง ดังรูปที่ 2 และเมื่อปรับแต่งเอฟเฟ็กต์จนพอใจแล้ว กดปุ่ม OK เพื่อใส่เอฟเฟ็กต์นี้ลงในวัตถุ โดยเอฟเฟ็กต์ที่เราใส่เข้าไปนี้ จะไม่แสดงให้เห็นจนกว่าจะสั่งทดสอบ Flash โดยการกดคีย์ Ctrl+Enter
     
  • Drop Shadow Effect
    รูปที่ 3 รายละเอียดต่างๆ ภายในหน้าต่าง Drop Shadow


    หลายๆ คนคงคุ้นเคยกับเอฟเฟ็กต์นี้เป็นอย่างดี เอฟเฟ็กต์นี้เป็นเอฟเฟ็กต์สำหรับสร้างเงาให้กับวัตถุ ซึ่งเราสามารถกำหนดความเข้ม-จางของเงา, ระยะห่างของเงากับวัตถุ ไปจนถึงสีของเงาได้ การใส่เอฟเฟ็กต์นี้ ทำได้โดยคลิ้กขวาที่วัตถุที่ต้องการจะใส่เอฟเฟ็กต์นี้ แล้วเลือก Timeline Effects

    ภายในหน้าต่าง Drop Shadow นั้น จะมีส่วนปรับแต่งต่างๆ เพื่อให้เราปรับแต่งค่าที่จะกำหนดให้กับเอฟเฟ็กต์ Drop Shadow ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

    1. Color เป็นการกำหนดสีของเงา ซึ่งเราสามารถคลิ้กที่กล่องสีแล้วเลือกสีที่ต้องการได้ หรือจะกำหนดค่าสีที่ต้องการลงไปโดยตรงก็ได้

    2. Alpha Trasparentcy เป็นการกำหนดความเข้มหรือจางของเงา ถ้ากำหนดค่า Alpha Transaparentcy ให้เป็น 100% จะทำให้เงามีความเข้มสูงสุด แต่ถ้ากำหนดค่าน้อยมากๆ ก็จะยิ่งทำให้เงาจางลงมากตามไปด้วย

    3. Shadow Offset เป็นการกำหนดระยะห่างระหว่างเงากับวัตถุ โดยเราสามารถกำหนดระยะห่างของเงาในแกน X และแกน Y แยกกันได้

    หลังจากที่ทดลองปรับแต่งแล้ว ก็ทดสอบดูผลการปรับแต่งโดยการกดปุ่ม Update Preview และถ้าพอใจกับเอฟเฟ็กต์ที่ได้แล้วก็ให้กดปุ่ม OK เพื่อใส่เอฟเฟ็กต์นี้ให้กับวัตถุได้เลย
     
  • Expand Effect

    เอฟเฟ็กต์ตัวนี้ เป็นเอฟเฟ็กต์ที่ใช้สร้างการเคลื่อนที่ของวัตถุในทิศทางซ้ายหรื อขวา ผลที่ได้ก็จะคล้ายกับการสร้างด้วยเทคนิค Tween แต่การใช้ Expand Effect นี้จะค่อนข้างสะดวกกว่า เพียงแค่ปรับค่าไม่กี่ค่าก็ได้ภาพเคลื่อนไหวออกมาแล้ว แต่เอฟเฟ็กต์นี้จะเป็นเอฟเฟ็กต์เพียงตัวเดียวที่ไม่สามารถใส่ลง ในวัตถุที่เป็นรูปร่าง (Shape) ได้ ดังนั้นก่อนที่จะนำเอฟเฟ็กต์นี้ไปใส่ลงในวัตถุ จะต้องนำวัตถุนั้นไปเก็บเป็นซิมโบลใน Library เสียก่อน โดยการเลือกวัตถุที่ต้องการแล้วกดคีย์ F8 จะปรากฏหน้าต่าง Convert to Symbol หลังจากนั้นก็ให้ตั้งชื่อซิมโบล และกำหนด Behavior ว่าจะให้เป็น Movie Clip, Button หรือ Graphic เสร็จแล้วกดปุ่ม OK ก็จะได้ซิมโบลตามที่ต้องการ
    รูปที่ 4 รายละเอียดต่างๆ ภายในหน้าต่าง Expand


    จากนั้นให้คลิ้กขวาจตรงซิมโบลที่อยู่ในพื้นที่ทำงาน แล้วเลือก Timeline Effects

    ภายในส่วนปรับแต่งของหน้าต่าง Expand จะประกอบด้วยการปรับแต่งต่างๆ ดังต่อไปนี้

    1. Effect Duration เป็นการกำหนดจำนวนเฟรมที่จะใช้ในการแสดงผลเอฟเฟ็กต์นี้

    2. Expand, Squeeze, Both เป็นการกำหนดรูปแบบการเคลื่อนที่ของวัตถุว่าจะให้ไปทางซ้าย (Expand) ไปทางขวา (Squeeze) หรือไปทั้งทางซ้ายและขวา (Both)

    3. Shift Group Center เป็นการกำหนดการยกระดับของวัตถุทั้งทางแกน X และแกน Y

    4. Fragment Offset เป็นการกำหนดค่าออฟเซตของตำแหน่งของวัตถุนั้น

    5. Change Fragment Size เป็นการกำหนดค่าการเปลี่ยนแปลงขนาดของวัตถุทั้งในแกน X และแกน Y

    หลังจากปรับแต่งค่าต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ก็ลองกดปุ่ม Update Preview เพื่อลองดูผลลัพธ์ที่ได้ หากพอใจก็ให้กดปุ่ม OK เพื่อใส่เอฟเฟ็กต์นี้ลงในวัตถุ

ที่มา http://www.arip.co.th/2006/mag_list.php?g3=3&ofsy=2004&ofsm=2&id=WinMag&g3s=3&halfmonth=1&mag_no=127&element_id=406494&mag_g=A&g3as=4&g3ass=5&g3tmp=A

เมื่อ 31 สิงหาคม 2551 
แสดงความคิดเห็น
ชื่อ
รายละเอียด
  
***กรอกรหัสที่เห็นในช่องข้างบนครับ
 
 
 
 
© 2009 Thaicenterway.com